ปัจจุบัน
สถานการณ์การค้าเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการไทย ต้องเรียนรู้
เพื่อให้รู้เท่าทัน และเร่งปรับตัวให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
และการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่เช่นนั้น อาจเสียเปรียบคู่แข่ง และแข่งขันไม่ได้
ในปีนี้ กรมการค้าต่างประเทศ
ซึ่งเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงพาณิชย์
ที่มีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนการค้าต่างประเทศ
ได้ปรับภารกิจงานทุกด้านให้เป็นเชิงรุกมากขึ้น
โดยมุ่งเน้นการป้องกันและการเฝ้าระวัง เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัว
และพร้อมต่อการแข่งขันที่สูงขึ้น
โดยมีพันธกิจสำคัญ 4 ด้าน ได้แก่
การป้องกันและรักษาผลประโยชน์ทางการค้า
การสร้างโอกาสและการอำนวยความสะดวกทางการค้า
การบริหารจัดการสินค้าเกษตรสำคัญ เพื่อกำหนดแนวทางดำเนินงานหรือมาตรการรองรับ และการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าเชิงรุก
ในด้านการปกป้องและรักษาผลประโยชน์ทางการค้า
ได้ส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากสิทธิพิเศษทางการค้าระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาค เช่น
ความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ต่างๆ ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร
(จีเอสพี)
เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการทำการค้า
เพราะที่ผ่านมา แม้ไทยทำความตกลงเอฟทีเอ
กับหลายประเทศ แต่ผู้ประกอบการไทย มักไม่ใช้สิทธิประโยชน์ หรือใช้น้อย
จึงต้องประชาสัมพันธ์ให้ใช้มากขึ้น อีกทั้งยังได้ดำเนินมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด
และมาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น
เพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าของไทย ไม่ใหใครเอาเปรียบได้
ส่วนการให้บริการและการอำนวยความสะดวกทางการค้า
กรมฯ ได้เตรียมความพร้อมไว้รองรับ
เพื่อให้การค้าของไทยได้ประโยชน์สูงสุดจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(เออีซี) และจากเอฟทีเอต่างๆ นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อให้บริการและการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทันสมัย เป็นการอำนวยความสะดวกการค้าให้ผู้ประกอบการมากขึ้น
จนส่งผลให้มูลค่าการค้าชายแดนของไทย
ในปีงบประมาณ 2556 สูงขึ้นถึง 924,242 ล้านบาท
โดยไทยได้เปรียบดุลการค้าประเทศเพื่อนบ้านกว่า 196,151 ล้านบาท
สำหรับการบริหารจัดการสินค้าเกษตร
ได้จับตา เฝ้าระวัง และกำหนดมาตรการต่างๆ พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาการส่งออกสินค้า
การกำกับดูแลการนำเข้าสินค้า
การกำกับดูแลคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรส่งออกของไทย
เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้า
และสร้างภาพลักษณ์การเป็นผู้นำสินค้าเกษตรของโลก
ขณะเดียวกัน ยังได้ติดตาม
และเผยแพร่มาตรการทางการค้าประเทศต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยรู้เท่าทัน
และเตรียมรับมือ อีกทั้งยังได้แก้ปัญหาการค้าต่างๆ เช่น ปัญหาแรงงานในกระบวนการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก
และยังมีกองทุนเอฟทีเอ
เพื่อช่วยเหลือการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า
ซึ่งได้ให้การช่วยเหลือแล้ว 40
โครงการ
ในโอกาสครบรอบปีที่ 72 ก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ 73 กรมฯ ได้ตั้งเป้าหมายยกระดับจาก “ผู้อำนวยความสะดวก”
เป็น
“ที่ปรึกษาด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าอย่างมืออาชีพ”
เพื่อหวังส่งเสริม
และผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพการแข่งขันสูงสุดในเวทีโลก
ฟันนี่เอส
15 พ.ค.57
15 พ.ค.57
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น